วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

บทที่14 การทำภาพพิเศษ


........การทำภาพพิเศษ (Special Effect) จะช่วยให้ภาพที่ปรากฏบนจอโทรทัศน์แปลกตาและดูน่าสนใจมากขึ้น นิยมใช้กับการทำไตเติ้ล ใช้กับงานกราฟิกและใช้ทำเทคนิคพิเศษ และเพื่อให้เกิดผลพิเศษต่างๆ ทางภาพจำเป็นต้องใช้เครื่องมืออุปกรณ์สร้างภาพได้ 3 วิธีคือ
........1.ใช้ระบบกลไกทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่เครื่องกำเนิดสัญญาณทั้งระบบอนาล็อกและระบบดิจิตอลร่วมกับเครื่องมืออื่นๆ เช่น เครื่อง SEG & Switcher ซึ่งจะช่วยสร้างเทคนิดพิเศษได้อย่างหลากหลาย
........2.ใช้ระบบของแสงร่วมกับอุปกรณ์การถ่ายภาพ ทำให้ภาพเกิดการบิดเบี้ยวผิดไปจากความเป็นจริงด้วยการใช้คุณลักษณะพิเศษของเลนส์ชนิดต่างๆ มาสวมหน้ากล้อง เช่น เลนส์ตาปลา
........3.ใช้ระบบกลไกที่จัดทำขึ้นเอง ได้แก่ การทำให้ดูว่ามีฝนตก หิมะตก ไฟไหม้ ลมพัดการทำภาพพิเศษด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์

........การซ้อนภาพ ทำได้ด้วยการใช้ภาพจากช็อต 2 ช็อตหรือจากกล้องสองตัวมาซ้อนกัน กรณีที่ไม่สามารถคีย์ไตเติ้ลลงไปบนภาพของแบคกราวน์หรือฉากหลังได้สามารถใช้การซ้อนภาพแทนได้
........การคีย์ภาพ คือการตัดภาพโทรทัศน์ทางอิเล็กทรอนิกส์จากแหล่งภาพหนึ่งไปใส่รวมให้ปรากฏหน้าจอเป็นภาพเดียวกับภาพจากอีกแหล่งหนึ่ง
........โครมาคีย์ เป็นภาพพิเศษที่ใช้สี (Chroma) กับความสว่างของแสง (Luminance) ในการคีย์สีที่ใช้ส่วนมากคือสีน้ำเงินหรือสีฟ้าเป็นแบคกราวน์แทนสีดำ
........Wipe คือการกวาดภาพ มีลักษณะคือภาพใหม่จะเข้าไปแทนที่ภาพเดิมไม่เหมือนกับการซ้อนภาพ เพราะเมื่อภาพใหม่กวาดไปถึงจุดใดภาพเดิมก็จะถูกลบหายไป การกวาดภาพมีหลายรูปแบบที่ง่ายและนิยมใช้กันมากคือกวาดจากบนลงล่าง จากซ้ายไปขวา และแบบทแยงมุม
รูปแบบการกวาดจะหลากหลายมากยิ่งขึ้นเมื่อใช้แผ่น Pattern ใส่เข้าไปในเครื่อง SEG ทำได้โดยใช้กล้องตัวแรกจับไปที่ภาพหนึ่งแล้วใช้กล้องตัวที่สองจับภาพอีกภาพหนึ่ง จากนั้นใช้เครื่อง SEG ทำการกวาดผสมภาพ

ไม่มีความคิดเห็น: